................................................................................................................................................................................................
ศูนย์คอมพิวเตอร์
สำนักพัฒนานักศึกษา
   
................................................................................................................................................................................................
 
ประวัติศูนย์คอมพิวเตอร์
 
         ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่มีหน้าที่ในการให้บริการด้านคอมพิวเตอร์แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และหน่วยงานภายในสังกัดมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
           ต่อมาทางคณะผู้บริหาร ได้มีมติให้ "ศูนย์คอมพิวเตอร์" เป็นหน่วยงานในระดับคณะมี หน้าที่ในการให้บริการด้านคอมพิวเตอร์แก่อาจารย์ นักศึกษาและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม งานบริหาร และงานสารสนเทศ
 


ศูนย์คอมพิวเตอร์

ความเป็นมาของ เครือข่าย HU net   
        
          โครงสร้างพื้นฐานของงานสารสนเทศขององค์กร เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการจราจรของข้อมูลข่าวสารจึงนับว่ามีความสำคัญสำหรับองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษา ดังนั้นเครือข่าย HU net จะต้องมีการออกแบบระบบเครือข่ายในองค์กรที่ดีเพื่อรองรับการจราจรข้อมูลที่จะเกิดขึ้นและสะดวกในการจัดการเครือข่าย
          การออกแบบ เครือข่าย HU net มีเกณฑ์ในการพิจารณาออกแบบดังนี้
                    1. เพื่อให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์รองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูง (ไม่น้อยกว่า 4 Mbps)
                    2. เพื่อแยกส่วนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของงานบริหารและงานบริการการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน
                    3. เพื่อให้เชื่อมโยงไปยังเครือข่ายอินอินเทอร์เน็ต
                    4. ระบบเครือข่ายจะต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่นิยมในการใช้งาน
 


โครงสร้างของเครือข่ายย่อยแต่ละเครือข่าย
 


โครงสร้างเครือข่ายทั้งหมด
 
          เครือข่ายย่อยของแต่ละเครือข่ายมีเทโปโลยีแบบดาวทำงานที่ ISO Network Layer 2 และเชื่อมโยงกันไปที่ Internet Backbone ในลักษณะ Collapsed backbone ที่ ISO Network Layer 3
          เครือข่ายย่อยแต่ละเครือข่ายมีโครงสร้างเป็นแบบ Collapsed backbone เช่นกันโดยการเชื่อมโยงระหว่างอาคาร ใช้สายใยแก้วนำแสง และการเชื่อมโยงภายในอาคาร ใช้สายคู่ตีเกลียว (Unshieled Twisted Pair : UTP) Category 5 ซึ่งมี Hub ที่ช่วยในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของเครือข่ายและทำงานที่ ISO Network Layter 2
          Collapsed backbone เป็น backbone ที่สามารถวางใจได้ในการเชื่อมโยงและเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แม่ข่ายต่าง ๆ ไว้ที่เป็นศูนย์กลางของระบบ ซึ่ง backbone ของมหาวิทยาลัย สามารถติดตั้งได้ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
          ข้อกำหนดของ Backbone LAN
                    1. Network Protocal Support : TCP/IP
                    2. Management Protocal System : SNMP
                    3. Backbone Capcity : 25 Mbps
          โปรโตคอลที่ใช้งาน HU net นั้น Transmission Control Protocal/Internet Protocal (TCP/IP) เป็นโปรโตคอลหลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
          เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต (Ethernet Technology) เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ HU net เพราะเป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลก สามารถขยายขอบเขตของการใช้งานได้อย่างเป็นอิสระ และมีความคงทนของเครือข่ายหากเกิดความเสียหาย ซึ่งจะทำให้การทำงานชะงักงันเฉพาะส่วนที่เสียหายเท่านั้น
Internet Connection
          การเชื่อมต่อระบบแลนภายในของมหาวิทยาลัยแต่ละระบบเข้ากับเครือข่าย Internet ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หลักในการใช้งานของระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และเป็นช่องทางสำหรับติดต่อสื่อสารที่สำคัญของบุคลากรและนักศึกษา
          มหาวิทยาลัยเชื่อมโยงระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเข้ากับเครือข่าย Internet ผ่าน Internet Service Provider (ISP) ท้องถิ่น ที่ความเร็ว 4 Mbps โดยใช้การเชื่อมโยงแบบ Frame Relay ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดย Link ผ่าน บริษัท Internet Thailand
Public Access
          การเข้าใช้เครือข่ายและทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เช่น Web server ของมหาวิทยาลัย ระบบห้องสมุด , E-Services , E-Classroom , E-Office และ Internet เป็นต้น บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย จะต้องสามารถใช้งานได้ ผ่านระบบ Remote Access
          Communication Server ของมหาวิทยาลัยที่ติดตั้งนั้นสามารถสนับสนุนการเชื่อมโยงการใช้งานระยะไกลผ่านระบบโมเด็ม ดิจิตอล (Modem Digital) ได้ถึง 60 ช่องสัญญาณ โดยผ่าน เบอร์โทรศัพท์แบบ Digital 1 เบอร์ คือ 0-7427-3300 ที่ความเร็วในการป้อนถ่ายข้อมูลที่ 52 Kbps.

โครงสร้างพื้นฐาน
          ทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากเดิมมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพียง 6 ห้อง จำนวนเครื่อง 414 เครื่อง และได้ทำการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามห้องปฏิบัติการต่าง ๆ 186 เครื่อง รวมจนถึงปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 601 เครื่อง
          ในส่วนของ Server ได้มีการจัดซื้อเครื่อง Server เพื่อติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ เช่น StoneGate , eLibrary , Web Service , Domain , เป็นต้น เพื่อรองรับต่อการใช้งานที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา
          ส่วนเทคโนโลยีอื่น ๆ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้มีการติดตั้งระบบ Wireless Lan ภายในมหาวิทยาลัย ให้ครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ในการใช้คอมพิวเตอร์นอกสถานที่ เพื่อการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี Access Point 13 จุด