................................................................................................................................................................................................
สำนักวิชาการ
สำนักพัฒนานักศึกษา
   
................................................................................................................................................................................................
 
ประวัติสำนักวิชาการ
 
          สำนักวิชาการได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี พ.ศ.2545 สืบเนื่องจากวิทยาลัยเมืองหาดใหญ่ ในขณะ เริ่มต้นนั้นมีคณะบริหารธุรกิจเพียงคณะเดียว ต่อมาในปี พ.ศ.2543 ได้รับอนุมัติจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ พ.ศ.2544 จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัยสาขาบริหารการศึกษา และในปี พ.ศ.2545 จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักวิชาการจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
          สถานที่ตั้งของสำนักวิชาการตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันอยู่ที่อาคาร 2 (นราธิวาส) ชั้น 2 โดยมีจำนวนบุคลากร ในยุคบุกเบิกจำนวน 5 คน แรกเริ่มก่อตั้งประกอบด้วย 5 ฝ่ายคือ

                    1. ฝ่ายแผนงานและหลักสูตร
                    2. ฝ่ายการจัดการเรียนการสอน
                    3. ฝ่ายบริการวิชาการ
                    4. ฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล
                    5. ฝ่ายธุรการและสารบรรณ

          ในปี พ.ศ.2548 สำนักวิชาการมีการปฎิบัติงานด้านวิชาการร่วมกับคณะต่าง ๆ จำนวน 5 คณะ คือ 1. คณะบริหารธุรกิจ 2. คณะนิติศาสตร์ 3. คณะศิลปศาสตร์ 4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5. คณะรัฐศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย อีก 2 สาขา คือ สาขาบริหารการศึกษาและสาขาบริหารธุรกิจ มีบุคลากรทุกฝ่ายจำนวน 9 คน โดยมีการแบ่งส่วนงานออกเป็น 6 ฝ่ายดังนี้

          1. ฝ่ายแผนงานและหลักสูตร ทำหน้าที่ประสานการจัดการและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการประยุกต์และพัฒนา ค่านิยม อุดมคติ ปรัชญา หลักการ นโยบายสู่การปฏิบัติและการจัดและดำเนินการเกี่ยวกับแผนปฎิบัติการประจำปีของสำนักวิชาการ การประกันคุณภาพของสำนัก การควบคุมการตรวจสอบการรับสมัครเข้าเรียน การจัดทำคู่มือนักศึกษา การจัดทำหลักสูตรใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่รวมทั้งงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

          2. ฝ่ายนิเทศและประเมินผลการสอน ทำหน้าที่ควบคุมรักษามาตรฐานการนิเทศและมาตรฐานการสอน ประสานเพื่อการดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม แนะนำและสนับสนุนอาจารย์ทางด้านการเรียนการสอนในระหว่างภาคเรียนตามมาตรฐานการนิเทศ การประเมินผลการสอนของอาจารย์ในปลายภาคเรียนตามมาตรฐานการสอน การวิเคราะห์ผลการนิเทศและผลการประเมินการสอนเชื่อมโยงกับผลการสอบรายวิชา การวิเคราะห์สรุปและรายงานผล

          3. ฝ่ายประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำหน้าที่และประสานการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานของการสอบในองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตารางวิเคราะห์หลักสูตร ประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus) ข้อสอบและเฉลยข้อสอบ การเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน การกำกับการสอบตลอดกระบวนการ การดำเนินการหลังสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบเชิงคุณภาพ (ความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรง) การวิเคราะห์ผลการสอบเชิงเชื่อมโยงกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง การแจกแจงผลการเรียนในภาพรวมระดับสาขา คณะและมหาวิทยาลัย

          4. ฝ่ายพัฒนาวิชาการ ทำหน้าที่ในงานพัฒนาวิชาการอาจารย์ประสานและส่งเสริมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นด้านการเรียนการสอน การส่งเสริมและสนับสนุนในการทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ส่วนในการพัฒนาวิชาการนักศึกษา (Retention Program) ทำหน้าที่และสานข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเรียนและศึกษา / วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาวิชาการในเชิงลึก ส่วนที่มีปัญหาด้านการเรียนและศึกษา / วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาวิชาการในเชิงลึก ส่วนงานอีกด้านของฝ่ายนี้ คืองานอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา ทำหน้าที่ประสานงานเพื่อดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ที่ปรึกษา

          5. ฝ่ายสารสนเทศ มีหน้าที่ในการจัดทำแผนงานและพัฒนาระบบข้อมูล เว็บไซต์ของสำนักวิชาการ

          6. ฝ่ายเลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ การบริหารทั่วไป งานเลขานุการและงานสนับสนุนอื่น ๆ ของสำนัก