โรคพิษสุนัขบ้า เป็นแล้วเสียชีวิต100%

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นแล้วเสียชีวิต100%

โรคพิษสุนัข ช่วงนี้กำลังระบาดเลย ในจังหวัดสงขลาก็มีหลายหน่วยงานออกมาเตือนกันแล้ว ยังไงก็ระมัดระวังตัวกันด้วย เพราะโรคพิษสุนัขบ้า เป็นแล้วเสียชีวิต100% ด้วยความปรารถนาดีจากดร.กัลยา ตันสกุล สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เมื่อทางปศุ จังหวัดสงขลาได้ประกาศให้พื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดสงขลาเป็นเขตโรคระบาดพิษสุนัขบ้าในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอรัตภูมิ อำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอสะเดา รวมทั้งเตรียมประกาศเพิ่มเติมอีก 1 อำเภอ คืออำเภอเมืองสงขลาช่วงต้นเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ทางสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อลดอัตราผู้ป่วยจากโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องด้วยโรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคหนึ่งที่ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมีอัตราการเสียชีวิต100% โรคพิษสุนัขบ้า หรือที่เรารู้จักกันในชื่อโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งพบเชื้อใน เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมวลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ จากทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยที่พิสูจน์จากห้องปฏิบัติการแล้วว่าเป็นพิษสุนัขบ้า แต่สามารถรอดชีวิตมาได้เพียง 6 ราย โดยใน 5 รายมีประวัติว่าได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน ส่วนอีก 1 รายไม่เคยได้รับวัคซีน แต่พิสูจน์แล้วว่าติดเชื้อมาจากค้างคาว จึงเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่า เชื้อพิษสุนัขบ้าสายพันธุ์ที่มีอยู่ในค้างคาวอาจก่อโรคไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ในสุนัข เมื่อเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการทางประสาทโดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลางทั้งนี้ไม่มียาตัวไหนหรือวิธีไหนที่จะฆ่าเชื้อไวรัสหรือรักษาให้หายได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีในห้องไอซียู (ICU: Intensive Care Unit) กล่าวได้ว่าถ้าเป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ดังนั้น การดูแลตนเองและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งที่สำคัญโดยมีวิธีปฏิบัติตน ดังนี้ ผู้ที่เลี้ยง เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ว่าจะเป็นหมา แมวกระรอกกระต่าย หนูชนิดที่เป็น เลี้ยง ลิง ควรพา ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามที่ แพทย์กำหนด สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยง เช่น หมู วัว แพะ แกะ ม้า แม้ว่าจะพบโรคพิษสุนัขบ้าใน เหล่านี้ได้บ้าง แต่ไม่พบมีความสำคัญในการนำโรคมาสู่คน จึงไม่จำเป็นต้องพา ไปฉีดวัคซีน แต่ถ้าคนถูก เหล่านี้กัด คนก็ต้องไปรับการฉีดวัคซีน คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคสูงได้แก่ แพทย์และผู้ช่วย คนเพาะ เลี้ยงขาย ร้านขาย เลี้ยง เจ้าหน้าที่กำจัดสุนัขและแมวจรจัด เจ้าหน้าที่บ้านสงเคราะห์ พิการ เร่ร่อนต่างๆ บุรุษไปรษณีย์ คนที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าควรได้รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้า (Preexposure prophylaxis) คือให้ฉีดวัคซีนในวันที 0, 3 และ 21 หรือ 28 และให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ 1 เข็มทุกๆ 5 ปี ผู้ที่ในอดีตเคยได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครบ 5 เข็มหรืออย่างน้อย 3 เข็มแรกที่ตรงตามนัด เมื่อถูก กัดอีกไม่จำเป็นต้องได้รับสารภูมิคุ้มกันต้านทาน แม้จะมีแผลชนิดเลือดออกและให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 2 เข็มภายในวันที่ 0 และ 3 โดยจะฉีดแบบเข้ากล้ามหรือเข้าผิวหนังก็ได้ แต่ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมายังไม่เกิน 6 เดือนอาจกระตุ้นแค่เพียง 1 เข็ม บางคำแนะนำบอกว่า ถ้าเข็มสุดท้ายเลย 5 ปีมาแล้ว ให้เริ่มต้นใหม่เหมือนคนยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน แต่สถานเสาวภาแนะนำว่า ไม่ว่าจะเคยได้รับมากี่ปีแล้วก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ ให้ฉีดกระตุ้นก็เพียงพอ หญิงตั้งครรภ์สามารถรับวัคซีนและสารภูมิคุ้มกันต้านทานได้ ไม่มีผลข้างเคียงกับทารกในครรภ์ ขอบพระคุณภาพประกอบบทความจาก เว็บไซต์สำนักระบาดวิทยาและเว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ