ม.หาดใหญ่ แถลงข่าว 20 ปี สู่ University 4.0 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จัดแถลงข่าวในโอกาสครบ 20 ปี วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (9 เมษายน 25560) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดี ดร.ธารพรรษ สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย และ ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ ร่วมกันประกาศวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ปีที่ 20 สู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของเมืองไทย” ขานรับ University 4.0 พร้อมก้าวสู่ความเป็นสากล และการเป็น Digital University พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและประเทศอย่างแท้จริง ณ ห้องประชุมนิพนธ์ บุญญภัทโร อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวถึงการก้าวสู่ความเป็นสากลและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยหาดใหญ่สู่ University 4.0 ว่า “มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นสากลทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการด้านวิชาการ โดยที่ผ่านมาเราได้เดินหน้าทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนหลายแห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยในประเทศจีน อาทิ Guangxi Normal University และ Yunnan Normal University, Yunnan College of Foreign Affairs and Foreign Languages ประเทศมาเลเซีย อาทิ Universiti Utara Malaysia, Universiti Sains Malaysia, Universiti Teknologi MARA, Erican College ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ Universitas Muria Kudus และประเทศญี่ปุ่น อาทิ Komazawa University, Soka University ทั้งนี้ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ให้เป็นพลเมืองโลกที่มีความรอบรู้ และก้าวทันปรากฏการณ์โลกแบบก้าวกระโดด พร้อมต่อการแข่งขันในตลาดโลกยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่บัณฑิตสามารถนำความรู้ประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่กล่าวเสริมถึงนโยบายบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ University 4.0 ว่า “จากสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับรัฐบาลภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติและการเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้เตรียมพร้อมและดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ที่เราจะเดินตามพันธกิจอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ โดยเฉพาะการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9” (มีต่อด้านหลัง) ดร.ธารพรรษ สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กล่าวถึงการก้าวสู่ Digital University ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ว่า “มหาวิทยาลัยหาดใหญ่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนคือ “Modern University” นั่นคือมีการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นนวัตกรรม หลักธรรมาภิบาล และการจัดการสมัยใหม่ โดยได้กำหนดเป้าหมายเพื่อเป็น Digital University ในปี 2562 ซึ่ง Digital University คือการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งเป็น Core Competency ขององค์กรเพื่อประโยชน์ในทุกพันธกิจขององค์กร โดยเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Blended Learning การให้บริการนักศึกษา และการให้บริการวิชาการแบบ Online มากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกและการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งตอบรับนโยบายของรัฐบาลภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 อย่างมีศักยภาพ” รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวถึงการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในทศวรรษที่ 3 ว่า “ม.หาดใหญ่ในทศวรรษที่ 3 จะเน้นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคมในพื้นที่เป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้านการแก้ปัญหาและการพัฒนาเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้ความรู้ทางวิชาการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้มากขึ้น และเน้นการทำงานวิจัยแบบประชารัฐตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย 20 ปี และแผนพัฒนาจังหวัดในพื้นที่ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ” ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ กล่าวถึงภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและบริการสังคมของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ว่า “การพัฒนาชุมชนและบริการสังคม เป็นอีกภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่ได้กระทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยการเลือกชุมชนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการศึกษา สำรวจความต้องการ และจัดทำแผนเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นแผนพัฒนาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับบริบทของประเทศ และสอดคล้องกับสภาพสังคม ในศตวรรษที่ 21 โดยที่ผ่านมาเรามีโครงการที่ประสบความสำเร็จและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชมหลายโครงการ อาทิ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานราชการและเอกชนในจังหวัดสตูล โดยม.หาดใหญ่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวของน้ำตกวังสายทอง น้ำตกวังสายธาร ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล และถ้ำภูผาเพชร ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล นอกจากนี้ยังมีโครงการโล๊ะหารโมเดล อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โครงการบริการวิชาการคาราวานจัดการขยะ ตำบลขุนตัดหวาย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นต้น” มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จัดแถลงข่าวในโอกาสครบ 20 ปี วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (9 เมษายน 25560) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดี ดร.ธารพรรษ สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย และ ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ ร่วมกันประกาศวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ปีที่ 20 สู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของเมืองไทย” ขานรับ University 4.0 พร้อมก้าวสู่ความเป็นสากล และการเป็น Digital University พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและประเทศอย่างแท้จริง ณ ห้องประชุมนิพนธ์ บุญญภัทโร อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวถึงการก้าวสู่ความเป็นสากลและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยหาดใหญ่สู่ University 4.0 ว่า “มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นสากลทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการด้านวิชาการ โดยที่ผ่านมาเราได้เดินหน้าทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนหลายแห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยในประเทศจีน อาทิ Guangxi Normal University และ Yunnan Normal University, Yunnan College of Foreign Affairs and Foreign Languages ประเทศมาเลเซีย อาทิ Universiti Utara Malaysia, Universiti Sains Malaysia, Universiti Teknologi MARA, Erican College ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ Universitas Muria Kudus และประเทศญี่ปุ่น อาทิ Komazawa University, Soka University ทั้งนี้ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ให้เป็นพลเมืองโลกที่มีความรอบรู้ และก้าวทันปรากฏการณ์โลกแบบก้าวกระโดด พร้อมต่อการแข่งขันในตลาดโลกยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่บัณฑิตสามารถนำความรู้ประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่กล่าวเสริมถึงนโยบายบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ University 4.0 ว่า “จากสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับรัฐบาลภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติและการเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้เตรียมพร้อมและดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ที่เราจะเดินตามพันธกิจอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ โดยเฉพาะการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9” (มีต่อด้านหลัง) ดร.ธารพรรษ สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กล่าวถึงการก้าวสู่ Digital University ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ว่า “มหาวิทยาลัยหาดใหญ่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนคือ “Modern University” นั่นคือมีการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นนวัตกรรม หลักธรรมาภิบาล และการจัดการสมัยใหม่ โดยได้กำหนดเป้าหมายเพื่อเป็น Digital University ในปี 2562 ซึ่ง Digital University คือการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งเป็น Core Competency ขององค์กรเพื่อประโยชน์ในทุกพันธกิจขององค์กร โดยเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Blended Learning การให้บริการนักศึกษา และการให้บริการวิชาการแบบ Online มากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกและการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งตอบรับนโยบายของรัฐบาลภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 อย่างมีศักยภาพ” รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวถึงการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในทศวรรษที่ 3 ว่า “ม.หาดใหญ่ในทศวรรษที่ 3 จะเน้นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคมในพื้นที่เป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้านการแก้ปัญหาและการพัฒนาเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้ความรู้ทางวิชาการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้มากขึ้น และเน้นการทำงานวิจัยแบบประชารัฐตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย 20 ปี และแผนพัฒนาจังหวัดในพื้นที่ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ” ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ กล่าวถึงภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและบริการสังคมของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ว่า “การพัฒนาชุมชนและบริการสังคม เป็นอีกภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่ได้กระทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยการเลือกชุมชนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการศึกษา สำรวจความต้องการ และจัดทำแผนเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นแผนพัฒนาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับบริบทของประเทศ และสอดคล้องกับสภาพสังคม ในศตวรรษที่ 21 โดยที่ผ่านมาเรามีโครงการที่ประสบความสำเร็จและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชมหลายโครงการ อาทิ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานราชการและเอกชนในจังหวัดสตูล โดยม.หาดใหญ่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวของน้ำตกวังสายทอง น้ำตกวังสายธาร ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล และถ้ำภูผาเพชร ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล นอกจากนี้ยังมีโครงการโล๊ะหารโมเดล อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โครงการบริการวิชาการคาราวานจัดการขยะ ตำบลขุนตัดหวาย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นต้น”