โครงการ Young Blood Outreach Community ม.หาดใหญ่ พาน้องปลูกป่า เยี่ยมโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา

โครงการ Young Blood Outreach Community ม.หาดใหญ่ พาน้องปลูกป่า เยี่ยมโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จัดโครงการ Young Blood Outreach Community เพื่อปลูกจิตสำนึกการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน ในเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับชุมชนเกาะยอ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยได้รับความสนใจจากนักเรียนในโรงเรียนทั่วพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้แก่ โรงเรียนรัตภูมิวิทยา โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) โรงเรียนหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม โรงเรียนเตรียมบัณฑิตพิชชาลัย โรงเรียนตัสดีกียะห์ โรงเรียนดีนุลอิสลาม วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา วิทยาลัยเทคโนโลยีหาดใหญ่อำนวยวิทย์ และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี อบต. เกาะยอ และโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา กิจกรรมเริ่มด้วยการเข้าเยี่ยมเด็กพิเศษที่โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จังหวัดสงขลา โดยนักเรียนและนักศึกษาได้ทำกิจกรรมสันทนาการและมอบอุปกรณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งนำขนมและเครื่องดื่มมอบให้แก่โรงเรียน หลังจากนั้นเดินทางสู่ตำยลเกาะยอ เพื่อร่วมกันปลูกป่าชายเลน โดยมีนายประจวบ ปราชญ์ชาวบ้านของตำบลเกาะยอให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนแก่นักเรียนและนักศึกษา นายประจวบ ทีปจิรังกูล ครูภูมิปัญญาไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตำบลเกาะยอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ได้แสดงความรู้สึกต่อกิจกรรมที่จัดขึ้นว่า “ดีใจที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ความใส่ใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าชายเลนซึ่งมีความสำคัญต่อสังคม อย่างน้อย ๆ ก็ให้อากาศหายใจ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ น้ำ ช่วยกันน้ำเซาะตลิ่ง เป็นที่หลบภัยของ น้ำ กั้นขยะไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ป่าชายเลนจึงช่วยบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่ง นอกจากป่าชายเลนจะมีประโยชน์ต่อทะเลและ น้ำแล้ว ในแง่ของมนุษย์ป่าชายเลยยังเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ด้วย เช่น ลูกเถาคัน ใบยอดขลู่ เป็นต้น ทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาของเด็กและเยาวชนอีกด้วย โดยมีผู้สนใจตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงปริญญาโท เกิดกิจกรรมที่ดีแก่เด็กและเยาชนในการทำความดีต่อสังคม เพราะชีวิตคนจะมีค่าก็เมื่อเราได้ทำประโยชน์” นายประจวบยังกล่าวเสริมว่า “คนสมัยนี้คิดสั้น คิดว่าทำวันนี้เพื่อกินวันนี้ ไม่คิดถึงลูกหลานในอนาคตว่า เมื่อไม่มีป่าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตแล้ว จะอยู่จะกินต่อไปกันอย่างไร”

http://www.hu.ac.th/press/images_upload/201382814561.doc