HATYAI POLL ครั้งที่ 16 เรื่อง “การเฝ้าระวังภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้”

HATYAI POLL ครั้งที่ 16 เรื่อง “การเฝ้าระวังภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้”

หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,001 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2555 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้ สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.9) อายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 41.0) รองลงมา มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 33.2) และอายุ 18-20 ปี (ร้อยละ 12.0) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 30.1) รองลงมา นักเรียน/นักศึกษา , รับจ้างทั่วไป , ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 21.8 , 15.6 , 11.7 และ 11.3 ตามลำดับ สรุปผลการสำรวจ รศ. ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 46.0 มีสถานะการเงินโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และร้อยละ 29.9 ไม่เหลือเก็บแต่ไม่มีหนี้สิน มีเพียงร้อยละ 24.1 มีสถานะการเงินโดยมีรายได้มากกว่ารายจ่าย นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 56.2 มีภาระหนี้สินโดยที่ประชาชนร้อยละ 32.4 มีภาระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท รองลงมา มีภาระหนี้สิน 50,001 – 100,000 บาท และ 100,001 – 200,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.2 และ 6.2 ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 สามารถเก็บเงินในแต่ละเดือนได้ โดยที่ประชาชนร้อยละ 25.4 สามารถออมเงินได้แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด รองลงมา 1,001-3,000 บาทต่อเดือน และ 3,001-5,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 14.0 และ 7.7 ตามลำดับ และประชาชนร้อยละ 42.2 ที่ไม่สามารถออมเงินได้ ประชาชนร้อยละ 31.3 เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล มากที่สุด รองลงมา เป็นปัญหาการเมืองและปัญหาการคอร์รัปชั่น คิดเป็นร้อยละ 30.0 และ 21.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.8 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลว่าจะส่งผลต่อการขึ้นราคาสินค้าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 22.8 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลว่าจะส่งผลต่อการขึ้นราคาสินค้าอยู่ในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 9.4 วิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาน้ำมันดีเซลว่าจะส่งผลต่อการขึ้นราคาสินค้าอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ประเด็นปัญหา คะแนนเต็ม (7 คะแนน) ไตรมาสผ่านมา ไตรมาสปัจจุบัน 1. ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล 3.23 3.57 2. ความวุ่นวายทางการเมือง 4.56 4.69 3. เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.68 4.92 4. การคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมืองและราชการ 4.88 5.00 5. สภาพเศรษฐกิจของประเทศ 4.56 4.88 6. ราคาน้ำมัน 4.63 5.28 7. ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ 4.66 5.20 8. การว่างงาน 4.30 4.67 9. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน 4.14 4.55 10. สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว 4.05 4.53 11. คุณภาพการศึกษา 3.92 4.36 12. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.00 4.52 13. ปัญหาวัยรุ่น/บุตรหลาน 4.05 4.51 14. ยาเสพติดในชุมชน 4.48 4.72 15. ปัญหาสุขภาพของบุคคลในครัวเรือน 3.76 4.32 16. การทะเลาะของบุคคลภายในครัวเรือน 3.46 3.93 17. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (น้ำท่วม,ภัยแล้ง ฯลฯ) 4.54 4.62 ภาพรวม 4.25 4.60 ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ภาพรวมของปัญหาที่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.60 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาตามประเด็นของปัญหา พบว่า ประชาชนเห็นว่าปัญหาราคาน้ำมัน เป็นปัญหาที่ได้รับผลกระทบต่อประชาชน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.28 คะแนน รองลงมา ปัญหาเกี่ยวกับการปรับขึ้นของราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ , ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมือง/ราชการ , ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีค่าเฉลี่ย 5.20 , 5.00 , 4.92 , 4.88 และ 4.72 ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.4 ไม่เห็นด้วยให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมืองตามรายงานการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า มีเพียงร้อยละ 24.6 ที่เห็นด้วยให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.1 เห็นว่าการนิรโทษกรรมไม่สามารถนำสังคมสู่ความสงบได้ และร้อยละ 27.9 เห็นว่าการนิรโทษกรรมจะช่วยให้สังคมสงบสุขได้ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 59.5 ไม่เชื่อว่าจะมีการปฏิวัติของทหาร

• ดาวน์โหลดบทความ