HATYAI POLL ครั้งที่ 6 เรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับความสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้าน”

HATYAI POLL ครั้งที่ 6 เรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับความสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้าน”

เมื่อวันที่ 26/1/2555    โดย สำนักวิจัย
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ            ความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน   โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,188 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่  14 – 17 กันยายน  2554  สรุปผลการสำรวจ ดังนี้

 

สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ  52.5)  อายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 38.7) รองลงมา  มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 23.2)  และอายุ  18-20 ปี (ร้อยละ 15.7) ตามลำดับ นอกจากนี้         กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ  29.2)  รองลงมา  พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง , ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป  คิดเป็นร้อยละ  20.8 , 16.6 ,  และ 14.1  ตามลำดับ

 

สรุปผลการสำรวจ

รศ. ทัศนีย์ ประธาน  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า  ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.5 คิดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์สามารถช่วยเหลือคุณวีระและ   คุณราตรี ให้ออกจากคุกกัมพูชาได้  มีเพียงร้อยละ 37.5 ไม่สามารถช่วยเหลือคนไทย 2 คนได้ ทั้งนี้ประชาชน      ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.8 บทบาทที่ผ่านมาของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการบริหารงานเพื่อ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร มากกว่าการบริหารงานเพื่อประชาชน (ร้อยละ 20.2) ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 65.0 คิดว่า พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร สามารถเดินทางกลับประเทศได้ และร้อยละ 35.0 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.3 ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คืนพาสปอร์ตแดงให้อดีตนายกรัฐมนตรี มากที่สุด รองลงมา ที่ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีการต่อรองพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชาและมีการต่อรองผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล  คิดเป็นร้อยละ 48.3 และ 34.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 47.0 เห็นว่าสาเหตุของปัญหามาจากปราสาทเขาพระวิหาร มากที่สุด รองลงมา พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร และผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล  คิดเป็นร้อยละ 26.5 และ 11.0  ตามลำดับ

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในอาเซียน พบว่า ประชาชนร้อยละ 53.9 เห็นว่าต้องการเห็นอาเซียนร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มากที่สุด รองลงมา เป็นความร่วมมือในด้านคุณภาพการศึกษา และด้านแรงงาน/ว่างงาน  คิดเป็นร้อยละ  53.7 และ 45.1  ตามลำดับ