HATYAI POLL ครั้งที่ 4 เรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับความมั่นคงแห่งรัฐ”

HATYAI POLL ครั้งที่ 4 เรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับความมั่นคงแห่งรัฐ”

หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับความมั่นคงแห่งรัฐ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,005 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2554 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้

สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.8) อายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 32.3) รองลงมา มีอายุระหว่าง 20-30ปี (ร้อยละ 29.8) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 19.4) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 27.8) รองลงมา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป, ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย และพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง คิดเป็นร้อยละ 23.2, 22.9 , และ 11.6 ตามลำดับ

สรุปผลการสำรวจ

รศ. ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่ติดตามการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นบางครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 45.2)และมีผู้สนใจที่ติดตามบ่อยครั้งและติดตามทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 29.7 และ 3.2 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 21.9 ไม่ได้ติดตามชมการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลย ทั้งนี้เมื่อประเมินความพึงพอใจต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบว่า ฝ่ายค้านได้รับคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ด้วยคะแนนเฉลี่ย 5.82 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) และเป็นฝ่ายเดียวที่สอบผ่านในการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในส่วนของวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร์/วุฒิสภา และฝ่ายรัฐบาล โดยมีคะแนนเฉลี่ย 5.23 , 4.91 และ 4.49 ตามลำดับ

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.8 แนวโน้มของสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเหมือนเดิม และร้อยละ 20.0 คาดว่าแนวโน้มเหตุการณ์จะเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 13.2 ที่เห็นว่าแนวโน้มของเหตุการณ์ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะลดลง เมื่อสอบถามเกี่ยวกับนโยบายการแก้ปัญหายาเสพติดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 90.5 ไม่มั่นใจว่านโยบายแก้ปัญหายาเสพติดจะแก้ไขให้แล้วเสร็จได้ภายใน 1 ปี มีเพียงร้อยละ 9.5 เท่านั้นที่เห็นว่าสามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้ภายใน 1 ปี

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงของประเทศ พบว่า ประชาชนร้อยละ 34.0 เห็นว่าปัญหา ยาเสพติด เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ มากที่สุด รองลงมา ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาการให้ร้ายของทักษิณ ชินวัตร ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร และปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการนิรโทษกรรม คิดเป็นร้อยละ 23.2 , 14.9 ,13.6 และ 12.1 ตามลำดับ

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ60.2 ไม่เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการแต่งตั้ง สสร. มาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ